พช. ร่วม สถาบันเอเชียศึกษา จัดเสวนาภูมิปัญญาชุมชนไทย สานสายใยข้ามพรมแดน ครั้งที่ 2 - ที่นี่ สุขภาพดี | Healthy Station

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, August 18, 2024

พช. ร่วม สถาบันเอเชียศึกษา จัดเสวนาภูมิปัญญาชุมชนไทย สานสายใยข้ามพรมแดน ครั้งที่ 2


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 น. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ ภูมิปัญญาชุมชนไทย สานสายใยข้ามพรมแดน พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ณ เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนทบุรี โดยมีนายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิด ซึ่งหัวข้อการเสวนา ประกอบด้วย หัวข้อ “จักสานไทยในพหุวิถี มนต์เสน่ห์บนเส้นทางแห่งการสร้างสรรค์” โดย ดร.ดลยา เทียนทอง รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา ฝ่ายบริหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์  ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวข้อ “หลากสีหลายลาย 


สื่อความหมายบนผืนผ้า” โดย ผศ.ดร. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการวิจัยโครงการลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และคุณนันทสิริ อัสสกุล Sale and Marketing Director แบรนด์โขมพัสตร์  เพื่อนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน อีกทั้ง กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงาน

ในโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เพื่อใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนให้มีความพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวด้วยการค้นหาเอกลักษณ์

ของชุมชนมาสร้างสรรค์เป็นสินค้าและบริการผ่านโปรแกรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่าฐานข้อมูลหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของกรมการพัฒนาชุมชนสามารถต่อยอดไปสู่การยกระดับมูลค่าของเศรษฐกิจฐานราก

ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากให้มีความมั่นคง ประชาชนพึ่งตนเองได้ โดยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 3,680 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ 

เพื่อเป็นการผนึกกำลังส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว กรมการพัฒนาชุมชน และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลและต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่สู่สาธารณชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาสินค้า


ทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ

ลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญา สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  ดำเนินการใน 3 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ทางภาคเหนือ ได้แก่ 1. บ้านเก็ต อำเภอปัว จังหวัดน่าน 2. บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 

3. บ้านท่งฟ้าฮ่าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าทอท้องถิ่นสู่การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาสถานีกิจกรรมท่องเที่ยว และพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ผ่านอัตลักษณ์ของชุมชนผ้าไทย ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพชุมชน ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยการนำความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยทางสังคม และพหุวัฒนธรรม ของสถาบันเอเชียศึกษาเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าโปรแกรมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของชุมชนด้วย สำหรับการเสวนาวิชาการในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้านการอนุรักษ์คุณค่ามรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านงานศิลปหัตถกรรมไทย และก่อให้เกิดเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนา

ต่อยอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน 



นายวรงค์ กล่าวทิ้งท้ายต่อไปว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมรับฟังการเสวนาฯ ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะได้รับความรู้ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงบูรณาการจากการเสวนาในวันนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีเป้าหมาย ทั้ง 3 บ้านข้างต้น จะได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่านในฐานะนักท่องเที่ยว


รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจสำคัญในการดำเนินงานวิจัยและวิชาการ รวมทั้งสร้างสรรค์ต่อยอดข้อมูลความรู้ด้านเอเชียศึกษา โดยเฉพาะที่สัมพันธ์กับไทยที่ในด้าน “พื้นที่ศึกษา” และ 'ประเด็นศึกษา" อย่างครอบคลุมทุกมิติ โดยมุ่งเป็นอาศรมทางวิชาการ และเป็นองคาพยพในการขับเคลื่อนและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงนโยบายการปฏิบัติ และการสร้างเครือข่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์เชื่อมโยงทุกระดับตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่น ประเทศชาติ และประชาคมโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์วิจัย อยู่ดี มีสุข ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 


ทั้งนี้ นับเป็นเรื่องน่ายินดีภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 

และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา และจนถึงขณะนี้ครบ 1 ปี ได้นำมาซึ่งผลงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่เป็นกิจกรรมทางวิชาการและโครงการวิจัย 

โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในภาคพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและการยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว ตลอดจนสามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและรักษาวิถีวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างมีดุลยภาพ ผลงานที่ว่านี้ ได้แก่  การจัดเสวนาวิชาการ ภูมิปัญญาไทย สานสายใยข้ามพรมแดน ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2566 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดทำโครงการวิจัย เรื่อง ลายแทงผ้าไทย สืบสานภูมิปัญญาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ โดยผลผลิตที่ได้รับแสดงถึงการผสมผสาน และการสร้างสรรค์แนวคิดและวิถีชุมชนที่ต่างพื้นที่กันได้อย่างงดงามและลงตัว


สำหรับการเสวนาวิชาการ ภูมิปัญญาไทย สานสายใยข้ามพรมแดน ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2567 ในวันนี้ 

จัดโดยศูนย์พหุวัฒนธรรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคมหน่วยงานวิจัยในสังกัด ถือเป็นส่วนหนึ่งในงานแสดงสินค้าศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP หลอมดวงใจ ด้วยพระบารมี ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมหามงคลเฉลิม




พระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ทรงมีพระราชกรณียสำคัญในการพลิกฟื้นและสนับสนุบสนุนหัตถกรรมไทยแขนงต่าง ๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยให้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทั้งยังทำให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดินได้อย่างยั่งยืน งานเสวนาวิชาการในวันนี้จะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในงานทอผ้า งานผ้าพิมพ์ลาย และงานจักสาน โดยนักวิชาการและผู้ประกอบการแบรนด์ผ้าไทยที่มีชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ที่ส่งผ่านไมตรีจิตอันอบอุ่นและให้ความสำคัญต่อความร่วมมือที่มีกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาโดยตลอด และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างกันจะเติบโตงอกงามอย่างเป็นลำดับมากยิ่งขึ้นต่อไป


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages