รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พันตํารวจเอก ทวี สอดส่อง มอบนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับ คณะผู้นำตำบลอาสา แก้ปัญหายาเสพติดชายแดนใต้ภาคประชาชน จำนวน 60 ตำบล 120 คน - ที่นี่ สุขภาพดี | Healthy Station

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, April 25, 2024

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พันตํารวจเอก ทวี สอดส่อง มอบนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับ คณะผู้นำตำบลอาสา แก้ปัญหายาเสพติดชายแดนใต้ภาคประชาชน จำนวน 60 ตำบล 120 คน


คณะศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จ.นนทบุรี และลพบุรี พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมคารวะตลอดจนรับมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 


เมื่อวันจันทร์ที่ 22 เม.ย.2567 เวลา 1400 คณะตำบลอาสาแก้ปัญหายาเสพติดชายแดนใต้ 60 ตำบล ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ตำบลท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นตำบลแก้ปัญหายาเสพติดต้นแบบ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมรับมอบนโยบายจาก รมว.ยธ. ณ.กระทรวงยุติธรรม



 จากนั้นเวลา ๑๖.๐๐ น. พันตํารวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับคณะประชาชนอาสาแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 120 คนโดยมี นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรี พลเอก วิชาญ สุขสง หัวหน้าคณะทำงานแก้ปัญหายาเสพติด จังหวัดชายแดนใต้ภาคประชาชน กระทรวงยุติธรรม พลตำรวจโท พัฒนวุธ อังคะนาวิน ประจำ​สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี​ ปฏิบัติ​หน้าที่​ประจำ​กระทรวง​ยุติธรรม​ นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. นางเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางสุจิต​รา​ แก้วไกร รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องสนฉัตร ชั้น ๓ อาคารกระทรวงยุติธรรม




ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในจังหวัดชายแดนใต้ นักโทษส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ มาจากคดียาเสพติด นอกจากนี้ยังพบว่า นักโทษที่ติดยาเสพติดส่วนใหญ่เรียนต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากจะแก้ปัญหายาเสพติด ต้องเริ่มจากการให้คนมีการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ อย่างน้อย ม.๖ โดยมาตรา ๔๒ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ฯ สั่งให้ทางเรือนจำจัดการศึกษาแก่นักโทษ เพื่อให้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะหากไม่มีการศึกษาก็ไม่มีอาชีพ และทำให้คนเหล่านั้นหันมาเสพยาเสพติด นอกจากนี้ ยาเสพติดยังทำลายร่างกาย สติปัญญา ทรัพย์สิน เกียรติยศ และศาสนาอีกด้วย




พร้อมทั้ง​ได้กล่าวถึงเรื่องที่อยากจะยกระดับและขับเคลื่อน​ในระหว่างที่เข้ามารับใช้ประชาชน คือ ๑) การแก้ปัญหายาเสพติด ๒) ขจัดผู้มีอิทธิพล และ ๓) เอาชนะความยากจน โดยกระทรวงยุติธรรมพร้อมที่จะสนับสนุน ส่งเสริม เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ลดยาเสพติดในชุมชน และทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ยาเสพติดนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก  อยากให้ชุมชนมาร่วมหาแนวทางการแก้ปัญหาเสพติดด้วยกัน และพร้อมรับมือในการต่อสู้กับยาเสพติดในชุมชน เพราะนอกจากยาเสพติดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้เสพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนใกล้ชิด และชุมชนอีกด้วย เพราะปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก


ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้เดินหน้าแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งการแก้ไขปัญหายาเสพติดในขณะนี้ นอกเหนือจากการจับกุม คือ การบำบัดและดูแล เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน รวมถึงจำเป็นต้องมีการจัดหางานฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติด โดยเน้นการเข้าถึงชุมชน หมู่บ้าน ดูแลกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด โดยใช้ความเข้าใจในสภาพพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรม

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages