ผอ.สมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออก ททท. ได้ให้ข่าว ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 พร้อม ผอ.มรกต สุดดี ผู้อำนวยการกองตลาดภาคตะวันออก และ ผอ.วันดี เผื่อนอุดม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครนายก (รับผิดชอบการตลาดท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) ได้ร่วมหารือวางแผนมุ่งหน้าส่งเสริมกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออก มิติใหม่กับเส้นทางท่องเที่ยวรถไฟสายภาคตะวันออก พร้อมร่วมต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมทริปพิเศษสู่จังหวัดปราจีนบุรี ปล่อยตัว ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ออกเดินทางโดยรถไฟท่องเที่ยวดีเซลรางปรับอากาศ Kiha 183 (รถไฟญี่ปุ่น)
รถไฟนำเที่ยวขบวนพิเศษสายภาคตะวันออก เส้นทาง หัวลำโพง(กรุงเทพฯ)-ปราจีนบุรี-หัวลำโพง(กรุงเทพฯ) การจัดกิจกรรมนำร่องครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 -12 พฤศจิกายน 2566 โดย สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวไทย (สธทท.) นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) และ ดร.สุเทพ อารมณ์รักษ์ ได้ร่วมจับมือกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ ททท.สำนักงานนครนายก ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเปิดเกมส์รุกกระตุ้น “ไทยเที่ยวไทย” ขยายตลาดท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออก โดยใช้รถไฟฟ้าเป็นพาหนะในการเดินทาง ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมทั้งประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม ทริปนี้มีนักท่องเที่ยวกว่า 200 คน ถือเป็นครั้งแรกในการร่วมทริปสู่ปราจีนบุรีแบบ 2 วัน 1 คืน ด้วยโฉมใหม่กับการใช้ขบวนรถไฟท่องเที่ยวดีเซลรางปรับอากาศ Kiha 183 (รถไฟญี่ปุ่น)เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจุดขายใหม่ พร้อมเตรียมผลักดันส่งเสริมขยายผลสู่เส้นทางใหม่เร็วๆนี้เพิ่มมากขึ้นในภาคตะวันออก อีกด้วย
นอกจากนี้ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออก ททท. ได้ขยายความการท่องเที่ยวทางรถไฟ ว่าหลายเหตุผลและมุมมองจุดขายดีดี กับการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถไฟ นอกจากความฟิน ความสบาย แบบบรรยากาศย้อนวันวานในรูปแบบสโลว์ไลฟ์แล้ว ก็มีข้อดีอื่น ๆ อยู่อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
1.วิว2ข้างทางรถไฟสวย สบายตา
2.มีหลากหลายเส้นทางสามารถเลือกเดินทางท่องเที่ยว
3.พบเพื่อนร่วมเดินทางใหม่มากมาย
4. ประหยัดค่าพาหนะเดินทาง(ตั๋วรถไฟราคาถูกกว่าพาหนะอื่นๆ)
5. เสน่ห์อาหารอร่อยอาหารแปลกชวนชิมริมทางรถไฟมีให้ชิม
6.ถึงก่อช่างไม่ถึงก็ช่าง…ไม่ต้องรีบร้อนบนขบวนรถไฟ มีที่เดินไปมากว้างขวาง
7.นอกจากชมวิวสวยแล้ว ยังมีวิถีวัฒนธรรม ข้างทางรถไฟมีเรื่องราวเรื่อเล่าให้ศึกษาเรียนรู้
เป็นต้น
No comments:
Post a Comment